ระบบแก๊ส
มาทำความรู้จักก๊าซปิโตเลียมเหลวหรือแก๊สLPGกันก่อนดีกว่า
ก๊าซปิโตเลียมเหลวเกิดจากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันหรือการแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ในประเทศไทยส่วนใหญ่ได้ก๊าซจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตเลียมเหลวส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในการหุงต้มในครัวเรือน โรงงานอุสาหกรรม และในยานพาหนะได้
แหล่งที่มาของก๊าสLPG
แหล่งที่มาของก๊าสLPG
- จากการขุดเจาะของแท่นขุดเจาะก๊าสธรรมชาติในอ่าวไทย
- กลั่นจากน้ำมันดิบนำเข้า
- นำเข้าจากต่างประเทศ
คุณสมบัติทั่วไปของแก๊สLPG
ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ปราศจากพิษ
หนักกว่าอากาศ
ลดมลภาวะทางอากาศ
ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่ 2-15%ของปริมาศอากาศ
ติดไฟได้เองท่ี 400 องศาเซลเซียส
ประเภทของการติดตั้งแก๊สLPG
ประเภทของการติดตั้งแก๊สLPGมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
- การติดตั้งแก๊สระบบหัวฉีด
- การติดตั้งแก๊สระบบดูด(MIXER)
อุปกรณ์แก๊ส LPG ระบบหัวฉีด
หม้อต้มแก๊ส |
หัวฉีดแก๊ส |
กล่องECUสั่งการและชุดสายไฟ |
สวิทบอกระดับแก๊สในรถ |
ท่อน้ำต่างๆ |
ท่อทองแดงส่งแก๊สจากถัง |
ข้อต่อต่างๆ |
วาล์วแก๊ส |
ถังแก๊สแบบโดนัท(ไว้แทนยางอะไหล่) |
ถังแก๊สแบบแคปซูล |
หัวเติมแก๊ส |
การทำงานของระบบแก๊ส LPG
เมื่อรถยนต์สต๊าทระบบจะทำงานแก๊สจะถูกสั่งจ่ายจากถังที่อยู่ด้านหลังรถโดยมีกล่องECUควบคุม ผ่านวาล์วแรงดัน จากนั้นก็จะถูกส่งผ่านมาทางท่อแก๊สเพื่อมาเข้าหม้อต้ม แก๊สที่ถูกจ่ายมาจะมีแรงดันประมาณ7บาร์ จึงมีRegulatorในการปรับแรงดันให้เหลือ1.0-1.2บาร์ แรงดันมากขนาดนี้จะทำให้แก๊สกลายเป็นน้ำแข็ง จึงต้องอาศัยน้ำที่มีอุณหภูมิสูงในหม้อน้ำ ที่ไหลเวียนเข้าสู่หม้อต้ม เพื่อมาช่วยเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นประมาณ50องศาเซลเซียสก่อนเข้าเครื่องยนต์ จากนั้นแก๊สก็จะผ่านกรองแก๊สเพื่อกรองขี้แก๊สออก และเข้าสู่หัวฉีดที่ฝังอยู่บริเวณท่อไอดี เพื่อทำการฉีดเข้าไปในห้องเผาไม้ เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานต่อไป แก๊สหัวฉีดจะต้องได้รับการจูนผ่านComputerโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การทำงานของระบบแก๊สสมบูรณ์
ข้อควรระวังในการใช้แก๊ส LPG
- ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มีการรับประกันจากผู้ผลิต
- เลือกสเป็คอุปกรณ์ให้ตรงกับความจุของเครื่องยนต์
- ไม่ต่อเติมหรือดัดแปลงซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยง
- ไม่ควรแก้ไขหรือซ่อมเอง ควรให้ช่างผู้ชำนาญตรวจดู
- ไม่ควรใช้แก๊สกับเครื่องยนต์ในรอบสูงๆ
- ไม่ควรมีประกายไฟบริเวณรถ
ยี่ห้อผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจำหน่ายในประเทศไทยมีอยู่หลายผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ขับขี่ และงบประมาณที่มีอยู่ แต่ละยี่ห้อจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน พร้อมกับการรับประกันอัคคีภัยประกันอุปกรณ์ และราคาที่ต่างกันไปอีกด้วย
บี เอส เอ็ม |
เอ็นนิจี้ รีฟอร์ม |
เอ จี |
เอ ซี |
จี ไอ |
เวอร์ ซุส |
ตัวอย่างการติดตั้ง
ติดแก๊ส6สูบ ในรถVR4 |
ติดแก๊ส5สูบในVolvo S70 |
ติดแก๊ส6สูบ ในเครื่องยนต์2Jz เทอร์โบ |
ติดแก๊ส4สูบในเครื่อง4G92 |
เครื่องยนต์ระบบหัวฉีดและเทอร์โบชาร์จ
เทอร์โบชาร์จ
เครื่องยนต์ระบบหัวฉีด
ในสมัย30ปีที่แล้วเครื่องยนต์หัวฉีดยังไม่ถูกพัฒนาขึ้น ยังคงใช้ระบบคาร์บูเรเตอร์ ทำงานโดยใช้อากาศในการดูดน้ำมันขึ้นมาจ่ายในกระบอกสูบ ซึ่งปริมาณน้ำมันที่จ่ายได้ขึ้นอยู่กับขนาดของนมหนู ซึ่งอาจจะไม่แม่นยำ ในรอบเครื่องสูงๆ แต่กลับกัน เครื่องยนต์หัวฉีดถูกสั่งการด้วยกล่อง ECU ของเครื่องยนต์ การที่กล่องจะสั่งให้หัวฉีดน้ำมันฉีดมากน้อย ขึ้นอยู่กับเซนเซอร์ที่ลิ้นปีกผีเสื้อ คำนวนค่าขณะที่เราเหยียบคันเร่ง แล้วกล่องก็จะคำนวนการฉีดน้ำมันออกมา น้ำมันที่อยู่ในถังด้านท้ายรถก็จะถูกส่งมาโดยปั๊มติ๊ก เพื่อเข้าสู่หัวฉีดและฉีดเข้ากระบอกสูบและเผาไหม้ต่อไป ซึ่งระบบนี้ใช้กันมาประมาน20กว่าปีมาแล้ว ปัจจุบันค่ายรถทุกแบนด์ ผลิตเป็นระบบหัวฉีดหมดแล้ว
วิธีดูแลเครื่องยนต์ระบบหัวฉีด
- หมั่นดูแลน้ำมันเครื่องและน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในสภาพดี เปลี่ยนถ่ายให้ตรงตามกำหนด
- ไม่ใช้รอบเครื่องที่สูงถ้าไม่จำเป็นเพราะจะช่วยลดการสึกหลอของเครื่องยนต์ได้
- ดูและน้ำในหม้อน้ำและหม้อพักน้ำอย่าให้น้ำขาด อาจจะทำให้ความร้อนขึ้นแล้วเครื่องพังได้
- เปลี่ยนหัวเทียนทุกๆ3หมื่นกิโลเมตร หรือ2ปี
- เช็คสภาพรถก่อนออกเดินทางทุกครั้ง
เทอร์โบชาร์จ (Turbocharger)
เทอร์โบชาร์จ
เทอร์โบชาร์จเจอร์หรือเทอร์โบ หน้าที่หลักของเจ้าเทอร์โบอย่างง่ายๆคือทำลมเข้ากระบอกสูบ เพื่อให้กระบอกสูบมีกำลังอัดมากขึ้นกว่าเดิม หลักการทำงานคือการที่ใบโข่งหลัง(7)หมุน จากไอเสียที่ออกมาจากกระบอกสูบ(5) ใบหน้าก็จะหมุนตาม(1)เมื่อรอบสูงๆก็จะหมุนไวขึ้น ใบหน้าก็จะดูดลมเข้ามาผ่านอินเตอร์คูลเลอร์(3) อินเตอร์คูลเลอร์นั้นมีไว้ระบายลมจากลมร้อนให้เย็นขึ้น ก่อนที่จะเข้าห้องเผาไหม้(4) และถูกระบายออกทางโข่งหลัง(6) และไปยังท่อไอเสียต่อไป ลมที่อัดเข้ามานั้นมีบริมาณแรงดันสูงมากทำให้เครื่องยนต์เทอร์โบค่อนข้างที่จะมีกำลังขับ หรือแรงม้ามากกว่าเครื่องยนต์ที่ไม่มีเทอร์โบ เครื่องยนต์ที่ไม่มีเทอร์โบก็สามารถติดตั้งเทอร์โบได้ แต่ต้องปรับแต่งอุปกรณ์ภายในเครื่องให้รองรับ ไม่เช่นนั้นลูกสูบหรือชิ้นส่วนต่างๆจะรับแรงอัดไม่ไหว จากนั้นเครื่องก็จะพัง ควรให้ผู้มีความรู้เฉพาะทางทำให้จะดีกว่า
วิธีการดูแลรักษาเครื่องยนต์เทอร์โบ
-เลือกน้ำมันเครื่องให้ตรงกับสเป็กเครื่อง
-เลือกหัวเทียนเกรตคุณภาพ และหมั่นตรวจเช็คอยู่สม่ำเสมอ
-อย่าให้น้ำในหม้อน้ำขาด
-ควรมีเกจวัดรอบหรือมิตเตอร์ต่างเพื่อดูระบบภายในเครื่องยนต์
-เครื่องยนต์ที่มีเทอร์โบควรติดเทอร์โบทามเมอร์
รูปภาพประกอบ
แหล่งที่มา
นิตยสาร Gas For Cars ปีที่ 6 ฉบับที่ 23 ธ.ค. 2555- ม.ค. 2556
https://www.facebook.com/gun.wuthiarporn
นิตยสาร Gas For Cars ปีที่ 6 ฉบับที่ 23 ธ.ค. 2555- ม.ค. 2556
https://www.facebook.com/gun.wuthiarporn
https://www.facebook.com/profile.php?id=100004080342079&fref=ts
http://auto.lannapoly.ac.th/main.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=9#.UREYPRwrnXc
http://www.gmcworkshop.com/new_lpg/lpg135.asp
http://www.thaigascar.com/
http://www.youtube.com/watch?v=gaIcgslsxEE
http://www.car2care.com/forum/viewtopic.aspx?t=3112
http://auto.lannapoly.ac.th/main.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=9#.UREYPRwrnXc
http://www.gmcworkshop.com/new_lpg/lpg135.asp
http://www.thaigascar.com/
http://www.youtube.com/watch?v=gaIcgslsxEE
http://www.car2care.com/forum/viewtopic.aspx?t=3112
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 3.0 Thailand License.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น